ตระหนักรู้เนื่องในเดือนอัลไซเมอร์โลก WHO
เผยผู้ป่วยทั่วโลกทะลุ 139 ล้านคน
องค์การอนามัยโลก
(WHO)
คาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยอัลไซเมอร์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 139
ล้านคนในปี 2593 ส่วนประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมราว 700,000 คน
ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 500,000 คน!โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดกับผู้คนนับล้านทั่วโลก
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) คาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นถึง
139 ล้านคนในปี 2593 และเนื่องในเดือนอัลไซเมอร์โลก (World Alzheimer’s
Month) ดร.Gabrielle Walcott-Bedeau ผู้ช่วยอธิการบดี
ฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา รองศาสตราจารย์จากภาควิชาสรีรวิทยา ประสาทวิทยา
และพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) ได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมและมาตรการป้องกันทำความเข้าใจโรคอัลไซเมอร์
การเป็นโรคอัลไซเมอร์ส่งผลให้ความจำเสื่อมลงอย่างช้า
ๆ อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจะแย่ลงตามกาลเวลา โดยเซลล์สมองจะค่อย ๆ ถูกทำลายสาเหตุมาจากการสะสมของโปรตีนผิดปกติและผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อาจมีชีวิตอยู่ได้นานกว่าสิบปีโดยที่อาการยังไม่แสดงชัดเจน นอกจากนี้ เมื่อเซลล์สมองตาย โรคนี้จะกระทบสมองในส่วนความจำซึ่งจะมีอาการเริ่มแรกที่สังเกตเห็นได้ชัดคือการสูญเสียความทรงจำ โดยเฉพาะความจำที่เพิ่งเกิดขึ้นล่าสุด
ความกังวลด้านสุขภาพระดับโลก
โรคอัลไซเมอร์สามารถพบได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุกว่า 80% ทั่วโลก โดยมีผู้ป่วยมากกว่า 50 ล้านคน ตามข้อมูลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในประเทศไทยประมาณ 700,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 500,000 คน
สาเหตุและการป้องกัน
จากการวิจัยมากมายเกี่ยวกับสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์พบว่ายังมีวิจัยที่สามารถยืนยันสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ได้ แต่ด้านนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกิดจากพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ซึ่งจากการวิจัยหลายฉบับได้เผยถึงความสำคัญของการดูแลตัวเองที่อาจจะสามารถลดความเสี่ยงหรือชะลอการเกิดโรคนี้ได้
โดยประกอบไปด้วย:
การออกกำลังกาย: การออกกำลังกายเป็นประจำส่งผลดีกับทั้งร่างกายและสมอง โดยมีกิจกรรมให้ทำหลากหลาย เช่น การเดิน การว่ายน้ำ หรือการเล่นโยคะที่สามารถช่วยพัฒนาการทำงานของสมองและลดความเสี่ยงที่จะสูญเสียความจำได้
การมีส่วนร่วมทางสังคม: การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในแง่บวกและในทางที่ดีนั้น ส่งผลดีต่อสุขภาพสมองไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาอยู่กับครอบครัวการทำกิจกรรม หรือการมีส่วนร่วมชุมชนที่อยู่อาศัยโดยการทำกิจกรรมร่วมกับคนทั่วไปสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้
SGU
ขอเชิญชวนบุคคลทั่วไปและองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์
เพื่อนำความรู้เข้าช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบและช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ ๓๐ ก.ย. ๖๗